top of page

หลิวอวี่กับภาษาจีน

เจียงหนาน(江南)โดยทั่วไปหมายถึงพื้นที่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำเจียงหนาน ในสมัยก่อนถือเป็นพื้นที่ที่เจริญรุ่งเรืองของทางตอนใต้ มักปรากฏในวรรณกรรมและกลอน เจียงหนานเนื่องจากเป็นพื้นที่ติดแม่น้ำจึงมีแม่น้ำลำคลองสายย่อยหลายสาย เป็นจุดเด่นหลักๆ หากพูดถึงเจียงหนาน ปัจจุบันคือแถบมณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอานฮุยซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลิวอวี่

อักษรเสี่ยวจ้วน (小篆)

ที่ปรากฏบนปกอัลบั้มเหวินเตาหลิวของหลิวอวี่ คือหนึ่งในรูปแบบอักษรโบราณของจีน ถูกเผยแพร่ในยุคราชวงศ์ฉินหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดิน จึงเรียกอีกอย่างได้ว่า อักษรฉินจ้วน (秦篆) มีลักษณะเด่น ได้แก่ ตัวอักษรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เขียนพู่กันทั้งแนวตั้งและแนวนอน วงกลมสม่ำเสมอ เส้นหนาเท่ากัน มีสมดุลและสมมาตร บนล่างซ้ายขวาเท่าๆ กัน จำนวนขีดส่วนบนแน่นส่วนล่างหลวม ลากลงยาวเหมือนเป็นขา แต่ว่าก็มีอักษรที่ไม่มีขาเช่นกัน โดยรูปแบบตัวอักษรหลักในการ EP เหวินเตาหลิว ประยุกต์มาจากอักษรเสี่ยวจ้วน

พัด(扇子)

ในประเทศจีนถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ ยามแรกเริ่มพัดถูกสร้างจากใบซ่าผู ไม้ไผ่และขนนกเพื่อบดบังแสงอาทิตย์และสร้างลม หลังจากเข้าสู่สังคมทาสและศักดินาก็เริ่มมีการใช้พัดเพื่อแสดงถึงฐานะ ทำให้พัดมีมากมายหลายรูปแบบ สร้างจากวัสดุหลากชนิด นอกจากนี้พัดยังถูกนำไปใช้ในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น ใช้พัดเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้พัดปัดเป่าความชั่วร้าย หรือใช้พัดเพื่ออำพรางใบหน้า เป็นต้น ซึ่งหลิวอวี่มักจะถือพัดในยามสวมใส่ชุดฮั่นฝู และวาดภาพลงบนพัดด้วยหมึกจีนอยู่บ่อยครั้ง

ต้าน(旦)

หรืองิ้วตัวนาง แบ่งออกเป็น ชิงอี(青衣)เน้นการขับร้องเป็นหลัก แสดงบทภรรยาและมารดาผู้เพียบพร้อมดีงาม ฮวาต้าน(花旦)มักหมายถึงเด็กสาวหรือสาวใช้ที่น่ารักร่าเริง อู่ต้าน(武旦)หมายถึงสตรีที่ใช้วรยุทธ์เป็น กุยเหมินต้าน(闺门旦)คือเด็กสาวที่ยังไม่ออกเรือน อยู่แต่ในห้อง เหล่าต้าน(老旦)ส่วนใหญ่หมายถึงคนชรา สตรีที่แต่งงานแล้ว บทหยางกุ้ยเฟยที่หลิวอวี่เคยแสดงจัดเป็นฮวาต้าน

ดาบใบหลิว (柳叶刀)

เป็นอาวุธชนิดดาบที่ใช้กันมายาวนาน เนื่องจากมีรูปร่างเรียวบางเหมือนใบหลิว จึงถูกเรียกว่าดาบใบหลิว โดยปกติมักใช้กับทหารม้าและทหารเดินเท้า ตัวดาบด้านหนึ่งไร้คม ส่วนอีกด้านที่คมและมีความโค้งเล็กน้อย ช่วยลดทอนแรงสะท้อนกลับและเพิ่มความสามารถในการตัดเฉือนของดาบ

Credit: Sunflowermist

ดาบ1_edited.jpg
bottom of page